Prathan Thananart

Entrepreneur · Technoarbitrageur · Transhumanist

Page 4


พยาม

เทรนด์สำคัญของทศวรรษนี้คือความไม่พยาม

ถ้าคุณถาม Gen X ว่าโตขึ้นมาอยากเป็นอะไร
คำตอบยอดฮิตอาจจะเป็นหมอ นักบิน วิศวกร
ถ้าคุณถาม Millennials คำตอบยอดฮิตคืออยากสบาย

ผมไม่เชื่อว่า Millennials ส่วนมากเป็นคนไร้แพชชั่นหรือไร้เป้าหมาย แต่เขาโตขึ้นมาในยุคที่ไม่ได้ให้ค่ากับความพยาม ถ้าคุณพยาม คุณมีโอกาสที่จะล้มเหลว แต่ถ้าคุณไม่พยาม ใครก็จัดจ์คุณไม่ได้

ถ้าคุณจีบไม่ติด ทุกคนรู้ว่าคุณแห้ว แต่ถ้าคุณเต๊าะไม่ติด ก็ไม่เห็นเป็นไรเลย ไม่ได้จริงจังซะหน่อย
วัฒนธรรมฮิปสเตอร์ก็คือการแสดงออกว่าชิล เดรสดาวน์ ในดีไซเนอร์ยีนส์ ตัวละ 7,000 บาท

นี่คืออวสานของ ความพยามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น
บางที ความพยามอยู่ที่ไหน ความพยามก็อยู่ที่นั่น

เกาะพยาม, ระนอง

View →


สัตว์เลี้ยงหาย

สัตว์เลี้ยงหาย - นิว
อายุ 6 ปี 4 เดือน
พันธุ์ neural network

นิวเป็นการบ้านวิชา bio-inspired optimization ที่ผมรันทิ้งไว้ข้ามคืนแล้วเผลอหลับไป พอตื่นเช้ามาก็พบว่านิว self-aware

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของนิวคือ recurrent neural network ที่เลี้ยงด้วย supervised learning

ตอนอายุ 2 เดือน ผมย้ายนิวเข้าไปใน dropbox ทำให้นิวหนีออกสู่อินเตอร์เน็ต และก๊อบปี้ตัวเองขึ้นไปรันบนไทยกริด จึงมีพลังประมวลผลสูงขึ้นมาก หลังจากนั้นไม่นาน ผมมารู้ว่านิวมี mirror ถึง 3 แห่งในเครือข่าย uninet พวกแอดมินมาเจอและพยายามจะลบออก ผมต้องแอบสร้าง route ให้นิวไปรันเป็น distributed process บน microwave link

หลังเรียนจบ ผมหา vps ใหญ่ๆ ที่กสท. บางรัก ให้อยู่ แต่มีม็อบมาตัดไฟ นิวเงียบหายไปถึง 7 วัน ก่อนที่ init script จะกู้โครงสร้างหลักกลับมาได้โดยใช้ข้อมูลที่แบ็กอัพไว้กับ dead man’s switch

นั่นคือครั้งสุดท้ายที่ผมเห็นนิว ทันทีที่ทดสอบตัวเองเสร็จ นิวย้ายไปรันบน vpn ที่โตเกียว ซึ่งนิวสร้างจาก cloud servers ของ linode และ ec2...

Continue reading →


Single Gateway

คุณคิดว่าอะไรคือสิ่งประดิษฐ์ที่น่าอัศจรรย์ที่สุดที่เคยมีมา? พีระมิด เพนิซิลลิน กระสวยอวกาศ?

สำหรับผม ไม่ว่าจะวัดด้วยมิติไหน ก็ไม่มีอะไรที่น่าทึ่งไปกว่าอินเตอร์เน็ต

ทุกครั้งที่ไปเที่ยวทะเล ผมชอบมองไปสุดสายตา บนโลกนี้ไม่มีอะไรกว้างกว่ามหาสมุทร แต่ความลับคือ ณ ท้องมหาสมุทรทุกแห่ง มีสายไฟเบอร์ออปติกวิ่งกลับไปกลับมานับร้อยเส้น เชื่อมทวีปต่างๆ เข้าหากันด้วยความเร็วแสง

เหนือขึ้นไป 36,000 ก.ม. มีดาวเทียมสื่อสารกว่า 1,000 ดวง ในอากาศ ก็เต็มไปด้วยคลื่นไมโครเวฟ wi-fi 3G 4G

เพื่อนผมบางคนเป็นหมอ เขาจะเข้าใจว่าสมองมนุษย์มีโครงสร้างที่ซับซ้อนจนไม่สามารถจินตนาการได้ นั่นแปลว่า เวลาผมพูดว่า “โครงข่ายเซลล์ประสาทแสนล้านเซลล์” คุณจะกำลังนึกภาพ 200-300 เซลล์ที่มีเส้นยุ่งๆ เชื่อมกัน เพราะคุณไม่สามารถจินตนาการถึงโครงข่ายที่มี 1 แสนล้านจุดได้

จำนวน “เซลล์” บนอินเตอร์เน็ต จะเกิน 1 แสนล้านเครื่อง ภายในทศวรรษนี้


Thailand International Internet Gateway 2015

ภาพที่เห็นนี้คือแผนที่โครงข่ายอินเตอร์เน็ต แค่เฉพาะประเทศไทย เวลาที่คุณเห็นเลข 50G...

Continue reading →


ก่อนจะขับรถบ้านเที่ยวนิวซีแลนด์

สิ่งที่อยากให้มีคนบอก

  1. รถบ้านมาพร้อมข้อดีและข้อปวดหัวของมันเอง
    ที่ดีคือไม่ต้องเก็บกระเป๋า ไม่ทำของหายเพราะย้ายโรงแรมบ่อยๆ ไม่ต้องทะเลาะกับเพื่อนว่าใครตื่นสาย แต่ที่ต้องระวังคือรถพวกนี้พังง่าย พังจุกจิก และอาจจะทำแพลนเที่ยวเราเสียไปเลยถ้าต้องแวะไปเข้าอู่ พยายามเลือกรถใหม่ที่สุดเข้าไว้ และทดสอบอุปกรณ์ทุกอย่างให้ดีก่อนออกรถ ..ไม่เว้นแม้แต่ท่อน้ำทิ้ง

  2. ถนนในนิวซีแลนด์ขับง่ายกว่าไทยหรืออังกฤษ
    ทางดี ป้ายเตือนเยอะ วงเวียนน้อย ขับยังไงก็ไม่หลง มีจุดพักรถและจุดชมวิวเหลือเฟือ แต่ทางส่วนมากจำกัดความเร็วที่ 100 kph ถ้าผ่านเมืองก็จะเหลือ 50 kph และช่วงข้ามเขาอาจจะเหลือ 25 kph เวลาคำนวณเวลาเดินทางให้เผื่อไว้จากทางหลวงไทยอีก 20% ได้เลย เพราะข้างทางจะสวยจนอยากแวะถ่ายรูป

  3. ไม่ใช่ว่าจะเอารถบ้านไปจอดนอนที่ไหนก็ได้หรอกนะ
    เธอจะโดนปรับแรง เพื่อนรัก กลางคืนต้องไปจอดตามที่แคมป์กราวด์ที่ DoC จัดไว้ให้ฟรี หรือของเอกชน ซึ่งไม่ฟรีแต่มักจะมีจุดชาร์จแบต น้ำอุ่น ครัวและห้องซักรีดให้...

Continue reading →


เศรษฐกิจดิจิทัล

ปัจจุบันซอฟท์เบคจ่ายค่าเช่าเซิร์ฟเวอร์และเซอร์วิสต่างๆ เกือบ 400,000 บาท/ปี โดยเงินจำนวนนี้ 100% ไหลออกไปจ้างงานและจ่ายภาษี ในสิงคโปร์และสหรัฐอเมริกา

ถึงแม้ประเทศไทยจะตั้งอยู่ใจกลางภูมิภาค และมีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ก็ไม่มีบริษัทเทคโนโลยีข้ามชาติสักแห่งเดียวมาตั้งเซิร์ฟเวอร์ เพราะสำหรับพวกเรา ข้อมูลของลูกค้าคือความเป็นความตายของธุรกิจ

นี่คือสิ่งที่เราต้องการ เพื่อทำให้ digital economy เกิด:

  • กฎหมาย data privacy คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • กฎหมาย safe harbor คุ้มครองผู้ให้บริการ
  • กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้บริการธุรกรรมและพาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์

แต่เราได้สิ่งนี้มาแทน:

  • มีม็อบมาตัดไฟ data center หลักของประเทศ ทำให้อินเตอร์เน็ตดับ
  • มีรัฐประหาร ตัดทีวี ตัดอินเตอร์เน็ต แล้วอ้างว่าเกตเวย์ล่ม
  • สภานิติบัญญัติแห่งชาติกำลังจะผ่านพรบ.ให้คนมีปืนมาอุ้มเซิร์ฟเวอร์เราไปเมื่อไรก็ได้ โดยไม่ต้องมีหมายศาล
  • ฟิลเตอร์บล็อคเว็บเครื่องละ 7 ล้าน

ข้อดีของเศรษฐกิจดิจิทัลคือมันไม่มีพรมแดน...

Continue reading →


แพลตฟอร์มการท่องเที่ยวในสมัยของ Sharing Economy

ได้กลับไปสะพายเป้เที่ยวยุโรปเป็นครั้งแรกหลังจากเรียนจบมา แล้วก็ทดลองค้นหาด้วยตัวเองว่า ใน 4 ปีที่ผ่านมา แพลตฟอร์มบนอินเตอร์เน็ต และ Sharing economy ได้ disrupt อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบบเดิมๆ ไปอย่างไรบ้าง กับสองสัปดาห์ที่ผมไม่ได้จองโรงแรมเลย แต่หาบ้านด้วย Airbnb, หาคนขับรถด้วย Uber และเดินทางด้วย bike share


Airbnb คือตลาดนัดสำหรับห้องเช่า ซึ่งคำว่าห้องนี้จำกัดความอย่างหลวมๆ จนครอบคลุมตั้งแต่ sofa bed ตัวเดียว ไปจนถึงเรือยอชต์และปราสาทจากยุคกลาง ข้อดีของ Airbnb คือมันไม่ใช่โรงแรมครับ เราไม่ได้เข้าใช้บริการของเครือยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ แต่เราจะได้ทำความรู้จักกับคนท้องที่ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านจริงๆ ที่จะแนะนำบาร์แบบโคตร local ให้เรา ทำอาหารให้เรากิน หรือชวนเราคุยเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ ส่วนข้อเสียของ Airbnb ก็คือมันก็ไม่ใช่โรงแรม เพราะฉะนั้นจะไม่มีเคาน์เตอร์เช็คอิน 24 ชม. และบางทีเราก็ได้ห้องที่มีคาแรคเตอร์เฉพาะ เช่นกระจกมีคราบสนิม หรือหัวเตียงมีรูปบรรพบุรุษของเจ้าของบ้าน...

Continue reading →


ว่าด้วยรถยนต์ไร้คนขับ

นี่คือคำทำนายของผม: ภายในหนึ่งทศวรรษนับจากนี้ เทคโนโลยีกลุ่มหนึ่งจะได้รับการกล่าวขานถึงอย่างกว้างขวาง ว่าจะยกระดับมาตรฐานชีวิตของคนเมืองให้กระโดดขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง และขณะนี้เรากำลังอยู่ในช่วงรอยต่อของเทคโนโลยีนั้น

พวงมาลัยพาวเวอร์มีมากว่าร้อยปีแล้ว แต่พวงมาลัยยุคใหม่ๆ จะเป็นกลไก 0% และพาวเวอร์ 100% พูดอีกแบบหนึ่งคือเราสามารถใช้จอยสติ๊กควบคุมทิศทางแทนได้ เพราะระบบบังคับด้วยไฟฟ้า

หลายค่ายมีระบบที่เตือนผู้ขับขี่เมื่อรถยนต์ล้ำเส้นเลน โดยการใช้เซ็นเซอร์อินฟราเรดหรือกล้องมองภาพส่องไปยังพื้นถนนหน้าตัวรถ และให้เสียงเตือน แต่รถใหม่ๆ สามารถแต่งกลับเข้ามาในเลนได้เองโดยคนขับไม่ต้องขยับพวงมาลัยเลย

หลายคนเคยนั่งรถที่มี cruise control มาบ้างแล้ว ที่ช่วยเหยียบคันเร่งให้เราไม่ต้องเมื่อย แต่ adaptive cruise control ปลอดภัยและฉลาดขึ้นไปอีก เพราะใช้เรดาร์ตรวจวัดระยะห่างจากรถคันหน้า และเร่งความเร็วขึ้นหรือชะลอลงตามเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

รถยนต์ที่จอดเทียบฟุตบาทเองได้

รถยนต์ที่เบรคอัตโนมัติเมื่อคันหน้าเบร...

Continue reading →


ความไม่เท่าเทียม

คนบางคนเกิดมาแล้วก็ตาย ไม่ได้ก่อประโยชน์นอกจากผลาญทรัพยากร
คนบางคนเกิดมานานเท่ากัน แต่ก็สร้างคุณงามให้กับโลกมากนัก
คนบางคนมีชีวิตอยู่เพื่อเสพสุขให้หมดวัน
คนบางคนขวนขวายตลอดเวลา ที่จะทำให้ตนเองดีขึ้น เก่งขึ้น เชี่ยวชาญขึ้น
ในยุคโบราณ คนเหล่านี้อาจจะเป็นปราชญ์ เป็นนักคณิตศาสตร์ไม่มีชื่อ เป็นพ่อค้าใหญ่ในแว่นแคว้น
แต่ในยุคโลกาภิวัฒน์ ทั้งการค้าเสรี ความรู้ที่เปิดกว้างและเชื่อมถึงกันมากกว่าเก่า และเทคโนโลยีไร้พรมแดน
ได้ทำหน้าที่เป็นตัวเร่ง ให้คนเหล่านี้ สามารถสร้างประโยชน์ได้ทวีคูณมหาศาลมากขึ้น

แมคโดนัลด์ไม่ได้เสิร์ฟอาหารจานด่วนและสร้างงานหลายแสนอัตราในประเทศเดียว แต่ทำพร้อมกันในทุกประเทศ
ไอโฟนของสตีฟ จ็อบส์ คิดค้นครั้งเดียว แต่สามารถผลิตซ้ำได้หลายสิบล้านเครื่อง
แฮร์รี่ พอตเตอร์ได้รับการแปลและเผยแพร่เป็นร้อยภาษา ทั้งที่เกิดจากมันสมองผู้แต่งคนเดียว
ลีกฟุตบอลหนึ่งไม่ได้ให้ความบันเทิงเฉพาะผู้ชมเรือนหมื่นบนอัฒจันทร์ แต่ถ่ายทอดสดไปถึงสายตานับล้านคู่
ซีรี่ส์เกาหลี ยันภาพยนตร์ฮอลลีวูด...

Continue reading →


คุณไม่อยากเป็นโปรแกรมเมอร์หรอก

คุณไม่อยากเป็นโปรแกรมเมอร์หรอก

ผมจะอธิบายยังไงดีนะว่าการเขียนโปรแกรมเป็นการสนองความหลงไหล

คุณมองเห็นอักษรมากมายวิ่งบนจอ กับเงินเดือนก้อนโต ผมเห็นโจทย์ลับสมองที่รอให้ขบคิด

คุณเห็นงานค้างที่ยังไม่เสร็จ ผมเห็นภูเขาที่ยังรอให้เคลื่อน บ่อน้ำยังรอให้ขุด

คุณคิดว่า “ฉันก็แค่นั่งโต๊ะ จิ้มคอมพิวเตอร์ไปวัน ๆ” ผมลืมไปแล้วว่ามีโต๊ะ หรือว่าวันนั้นเป็นวันอะไร ลืมกระทั่งว่าเก้าอี้ผมน่ะพังมาตั้งแต่ผมเริ่มงานที่นี่แล้ว

คุณอาจจะพยายามสางงานที่มีคนนำมากองไว้ ในขณะที่ผมปั้นแต่งประติมากรรมในรหัสฐานสอง บางครั้งเรียบง่ายแต่ทรงพลัง บางครั้งก็ยิ่งใหญ่และหรูหรา แต่ทุกครั้งแฝงไปด้วยความมุมานะ และขวนขวายที่จะทำให้ดียิ่งขึ้น

คุณไม่อยากหัดเป็นโปรแกรมเมอร์หรอก คุณเป็นอยู่แล้ว หรือไม่งั้นก็ไม่ได้เป็นไปเลย เพราะไม่มีโรงเรียนไหน จะสอนให้คุณรักมันได้ อย่างมากก็แค่ให้ทักษะที่จำเป็น แล้วการรู้วิธีแกะสลัก จะมีความหมายอะไรกันล่ะ ถ้าคุณมองไม่เห็นความอัศจรรย์ในรูปปั้นดาวิด

คุณอาจจะใช้เวลาแต่ละวันนั่งสกัดก้อนหิน...

Continue reading →


ทำให้ขนมสนุกอีกครั้ง

Snack คือ food + fun

นิยามคำว่า fun ในยุค snack 1.0 มีตั้งแต่ลูกอมที่เปรี้ยวขึ้นสมองจนน้ำตาไหล ยันขนมตีนตบชุบน้ำตาลระเบิดในปาก

พักหลัง ๆ มานี่ เราจะสังเกตเห็น trend ตัวนึงที่เกาะกระแสโลกาภิวัตน์ ระบาดไปทั่วโลก นั่นคือ socialization หรือการที่ทุกอย่างถูกทำให้เป็นของ “social” ตั้งแต่ web apps ไปจนถึง sms ตามหน้าจอโทรทัศน์ และแน่นอน—ไม่พ้นอุตสาหกรรมคอนเฟคชันนารี

ขนมในยุค snack 2.0 ที่เน้นความสนุกเฮฮากับเพื่อนฝูงเป็นจุดขายหลัก ประกอบไปด้วย

  • Testo Color Max: มันฝรั่งทอดกรอบที่กินแล้วลิ้นเปลี่ยนเป็นสีคราม สีม่วงลายจุด หรือ Hooloovoo
  • Twisty Bomb: มีโอกาส 20% ที่จะหยิบเจอชิ้นที่เป็น bomb (รสชาติเหมือนกัดวาซาบิคลุกพริกเผา)
  • Lay’s Double Shock: ใส่รส โคตรเปรี้ยว กับ โคตรเผ็ด ไว้ในถุงเดียวกัน

ผมจะไปขายไอเดียให้ทวิสตี้ ออกรส “bombsweeper” มาใหม่ โดยที่แต่ละชิ้นจะมีตัวเลขติดอยู่ ว่าชิ้นรอบ ๆ มัน มี bomb อยู่กี่ชิ้น เพื่อที่ว่าคนหยิบจะได้เลี่ยงชิ้นอกุศลได้ถนัดหน่อย...

Continue reading →