Prathan Thananart

Entrepreneur · Technoarbitrageur · Transhumanist

Read this first

3 ปี ที่เป็น Official Partner กับบริษัทสีน้ำเงิน

Prathan Thananart with Mark Zuckerberg

ปีแรกของการทำบริษัท ผมได้รับอีเมลจากเพื่อนนักข่าว “มีคนที่ Facebook Singapore อยากรู้จักคุณน่ะ” เราแลกเบอร์โทรกัน เธอแนะนำตัวว่าอยู่ทีมสนับสนุน SME โดยทำงานกับลูกค้ากลุ่มอีคอมเมิร์ซ

เป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือแบบช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างเรากับบริษัทสีน้ำเงิน ในขณะที่เขาสนับสนุนเรื่อง API และแชร์ roadmap ให้เรารู้ล่วงหน้า เราก็ป้อน insight ให้เขานำไปพัฒนาโปรดักต์ได้ตอบโจทย์ผู้ใช้ชาวไทยยิ่งขึ้น

เวลาล่วงมาหลายปี ยอดผู้ใช้ของ Page365 โตทะลุ 100,000 ร้านค้า ตัวเลขเดียวกันนี้ปรากฏอยู่บนหลังบ้านของ FB OAuth ด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย เราเป็นพันธมิตรที่มีทีม FB จากอเมริกาบินมาประชุมด้วยบ่อยจนผมต้องขอให้เพลาบ้าง พนักงานเรามีแค่หยิบมือเดียว

ในขณะเดียวกันโปรดักต์ของ FB เริ่มจะพึ่ง 3rd party อย่างเราน้อยลง

Facebook Pages Manager

Messenger ตั้งข้อความอัตโนมัติได้ ตั้งแท็กได้, เพจก็มี shop section, แอป Pages Manager ก็รวมคอมเมนต์ และรวม Instagram เข้ามาด้วย พวกเราตั้งข้อสังเกตว่า FB จะลงมาเล่นเกมนี้เต็มตัวเมื่อไหร่

...

Continue reading →


เหตุผลที่จะกลับไปไอซ์แลนด์

1. กลับไปดูวิวที่หลุดมาจากดาวอื่น ธารน้ำแข็งแตกตัว ชายหาดสีดำ แท่งหินบะซอลท์ ดินภูเขาไฟ

Kamil Porembiński

2. กลับไปสำรวจถ้ำน้ำแข็ง โพรงที่เกิดจากลาวา หินยอกหินง้อยตั่งต่าง

David Phan

3. กลับไปขับรถ 4x4 ข้ามลำธาร เที่ยวที่ราบสูง ที่อนุบาลม้า และบ่อน้ำแร่ธรรมชาติที่เปิดแค่หน้าร้อน

Ingo Meironke

4. กลับไปปีนเนินเขาหลากสี Landmannalaugar นอนบนกระท่อมภูเขาไฟ ไต่ไปจนสุดสัน Thorsmork

Raico Rosenberg

5. กลับไปขับรถบนทางหลวงสาย 92 และ 96 ที่เลาะเหวฝั่ง Westfjords โดยมีไหล่ทางให้เราแค่ 1 เมตร

Chris Goldberg

6. กลับไปดูหมวก Kirkjufell และน้ำตกวอลล์เปเปอร์ Seljalandsfoss ในเวอร์ชั่นเขียวขจี

Frank Chen

7. กลับไปล่าแสงเหนือในวันที่ KP index สูง ใช้กล้องดีๆ ยืนตัวสั่นในเสื้อผ้าที่ดูถูกอากาศหนาว

Chris Marquardt

8. กลับไปเปิดไวน์ กดแมวระเบิด เอนหลังดูวิวร้อยล้านจากหน้าต่างรถแคมเปอร์

Ville Hyvönen

9. กลับไปเทรกกิ้งในเส้นทางตัดขาดจากโลกภายนอก ไม่เจอมนุษย์ซัก 2-3 วัน

eliudrosales

...

Continue reading →


Mt. Gox

กาลครั้งหนึ่ง วอลุ่มการเทรด Bitcoin เกือบทั้งตลาด วิ่งผ่านเว็บไซต์เล็กๆ ชื่อ Mt. Gox แต่ไม่มีใครรู้ว่า Mt. Gox โดนเจาะระบบหลายครั้ง ระหว่างปี 2011-2014 ราคา BTC ยังคงทำสถิติใหม่ต่อเนื่อง เจ้าของจึงปิดข่าวไว้ โดยหวังว่าวันหนึ่งด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงขึ้น กำไรจากค่าธรรมเนียมจะเข้ามาอุดรูรั่วของเงินที่หายไป

นาย Mark Karpelès คงไม่ตั้งใจเรียนเลขเท่าไหร่ เมื่อ BTC แพงขึ้น Bitcoin ส่วนที่หายไปก็แพงขึ้นด้วย สุดท้ายไม่รอด เดือนกุมภาพันธ์ 2014 เว็บไซต์ Mt. Gox ยื่นล้มละลาย พร้อมทั้งแจงรายละเอียดว่าทำเงินลูกค้าหายทั้งหมด 127,000 คน รวมมูลค่าหนี้สิน 2 พันล้านบาท

Inkedimage_LI.jpg

ศาลล้มละลายญี่ปุ่นแต่งตั้งคุณ Kobayashi เป็นผู้พิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทซึ่งเหลือประมาณ 200,000 BTC และมีการบันทึกสภาพหนี้ของเจ้าหนี้ทุกคนเป็นเงินเยน ใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันล้มลาย ที่ 1 BTC = $483

จากนั้น ความเงียบ

ในปี 2017 ราคา BTC พุ่งเกิน $2,400 หมายความว่ากิจการมีมูลค่าทรัพย์สินเกินกว่าหนี้แล้ว

ต้นปี 2018 ราคา BTC ไต่ขึ้นเฉียด...

Continue reading →


ไอเดีย

เรามักคุ้นชินกับมุมมองที่ว่ามนุษย์เป็นผู้ผลิตและบริโภคไอเดีย (ข้อมูล ข่าวสาร และคอนเซปต์) จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเรามองกลับกัน ไอเดียเป็นผู้กระทำ (agent) ส่วนมนุษย์เป็นเป้าหมายของมัน?

ไอเดียที่เป็นนามธรรม จะเป็นผู้กระทำไปได้อย่างไร? คนที่แก่พอจะเคยใช้อีเมลสมัยไวรัสระบาด น่าจะเคยโดนไอทีเตือนว่าห้ามเปิด attachment ที่มีนามสกุล exe เพราะไวรัสจะกินเครื่อง อันที่จริง ไฟล์นามสกุล exe ก็เป็นแค่ไฟล์เอกสารธรรมดา แต่เป็นเอกสารที่บรรจุชุดคำสั่ง ที่สมองคอมพิวเตอร์รันแล้วจะเอ๋อได้ ดังนั้นไอเดียก็เป็นผู้กระทำได้แน่นอน

มันมีไวรัสชนิดอื่นที่ไม่ได้กระทำคอมพิวเตอร์ แต่ทำให้คนเอ๋อมั้ย? ง่ายสุดที่ผมนึกออกคือไฟล์นามสกุล jpg ไอทีมักจะคิดว่าไฟล์นามสกุล jpg ปลอดภัย แต่ที่จริงแล้วไฟล์ jpg นั้นอาจจะบรรจุชุดคำสั่งที่ทำให้คุณยิ้ม ทำให้คุณอาย หรือทำให้คุณอ้วก ทำให้คุณเกิดอารมณ์โมโห หรือเกิดอารมณ์ทางเพศ ไวรัสเหล่านี้ล็อคเป้าไปยังสมองส่วนที่คุณไม่มีอำนาจควบคุม นั่นก็คือสมองส่วนสัตว์เลื้อยคลานที่ขับเคลื่อนด้วยอารมณ์

kyaw-tun-317752-unsplash.jpg

...

Continue reading →


โรงเรียน

เวลาเห็นคอนเทนต์ประเภท​ “โรงเรียนไม่เคยสอนเขียน résumé หรือการยื่นภาษี แต่กลับสอนเรื่องหน้าที่ของไมโตคอนเดรีย” อดสงสัยไม่ได้ว่าคนพวกนี้อยากให้โรงเรียนเป็นแค่โรงงานผลิตพนักงานจริงเหรอ

ในยุคที่การดาวน์โหลดความรู้เข้าสู่สมองง่ายลงทุกวัน แทบไม่มีอะไรขวางกั้นโอกาสทางการศึกษาของคนที่มีความขวนขวายได้อีกแล้ว ผมคิดว่าแก่นของโรงเรียนเหลือเพียงสามอย่าง

  1. จุดประกายความอยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติของเด็ก
  2. มอบเครื่องมือสำหรับเรียนเอง (learning how to learn)
  3. วางรากฐานสำหรับการเข้าสังคม เช่นศีลธรรมและมนุษยสัมพันธ์

ไมโตคอนเดรีย ฟิสิกส์ ภูมิศาสตร์ จัดอยู่ในข้อแรก เป็นคอร์สเมนูแบบ omakase ให้เด็กหาความถนัดของตัวเอง

คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ การทำรายงานและพรีเซนต์งาน คือข้อสอง ถ้ามีข้อนี้จะเรียนอะไรก็ได้ในโลกวิชาการ

ข้อสามเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเสมอไม่ว่าจะเอาผ้าขาวไปซักในถังไหน แต่อย่างน้อย พ่อแม่ก็เลือกถังได้

ที่เขียนมานี้ไม่ได้จะบอกว่าการศึกษาไทยดี มันยังห่วย แต่การเปลี่ยนสายสามัญเป็น ปวช. ปวส...

Continue reading →


คินาบาลู ปีนคนเดียวแบบเพื่อนไม่คบ

Mt. Kinabalu

คินาบาลูจัดว่าเป็นเขาที่เป็นมิตรต่อมือใหม่ มีสิ่งอำนวยความสะดวกเยอะพอประมาณ ที่พักสะอาด น้ำไหลไฟสว่าง อาหารกินอิ่มทุกมื้อ แต่ถึงกระนั้นวิวก็ไม่เป็นที่สองรองใครเลย

คนไทยที่สนใจจะไปปีนก็มีตั๋วเครื่องบินโลว์คอสต์ไปถึง โดยแวะเปลี่ยนเครื่องที่ Kuala Lumpur แล้วเดินทางต่อไปยังเมือง Kota Kinabalu

โคตา คินาบาลู (KK) เป็นเมืองที่กำลังโต ค่าครองชีพพอกับต่างจังหวัดของไทย และมีร่องรอยการก่อสร้างอยู่ทั่วทุกแห่ง ดาวน์ทาวน์ของ KK เล็กแค่ถนนเมน 3 สายขนานกัน อยู่ติดกับชายฝั่งด้านทะเลจีนใต้ของเกาะบอร์เนียว

Kota Kinabalu

การจะไปยังเขาคินาบาลู ภูเขาที่สูงที่สุด อันดับ 5 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องนั่งรถตู้ออกจาก KK ไปอีก 2 ชม.

Kota Kinabalu

อากาศเย็นลงทันทีที่ขับขึ้นเขา พี่คนขับพาเราเลาะไปตามถนนสองเลนด้วยความเร็วที่ไม่น่าจะปลอดภัย

Road

ผมขอลงตรงนี้แหละ ทางเข้าเกม Silent Hill

Road

โฮสเทลที่ฝากผีไว้ชื่อ Jungle Jack ลุงแจ็คเป็นโฮสต์ที่ entertain ที่สุดเท่าที่ผมเคยเจอ ไฟแรง อัธยาศัยดี และเหนือสิ่งอื่นใดผมประทับใจข้าวที่แกพาไปกิน...

Continue reading →


กฎของซิมูเลชั่น

The Sims

  1. ผู้ที่อยู่ในซิมูเลชั่นไม่สามารถบอกได้ว่าอยู่ในซิมูเลชั่น

  2. ซิมูเลชั่นย่อมมีกฎของโลก (worldbuilding) ที่อธิบายมันอยู่

    1. ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในซิมูเลชั่นเกิดจากการคำนวณเฟรมต่อเฟรม หากทราบสถานะของเฟรมก่อนหน้าโดยสมบูรณ์ จะสามารถคำนวณเฟรมถัดไปได้
    2. ผู้ที่อยู่ในซิมูเลชั่นไม่มีเจตจำนงเสรีอันเป็นเอกเทศจากกฎการคำนวณนี้ได้
    3. ซิมูเลชั่นสามารถถูกนิยามได้โดยสมบูรณ์ด้วยกฎเหล่านี้และสถานะตั้งต้นของมัน
  3. ผู้ที่อยู่ในซิมูเลชั่นไม่สามารถกระทำกับโลกภายนอกได้

    1. เส้นเวลาของซิมูเลชั่น เริ่มขึ้นและจบลงสมบูรณ์แล้วอย่างเป็นเอกเทศกับเส้นเวลาในโลกภายนอก ไม่ต่างจากเหตุการณ์ในหนังสือนิยายซึ่งวางอยู่บนโต๊ะและสามารถเปิดข้ามไปอ่านหน้าไหนก็ได้
    2. ซิมูเลชั่นสามารถมีได้ตั้งแต่ระดับความละเอียดต่ำเช่นนิทาน ไปจนถึงความละเอียดสูงเช่นเกมคอมพิวเตอร์
  4. ผู้ที่อยู่ในโลกภายนอกไม่สามารถส่งผลถึงในซิมูเลชั่นได้

    1. ฮาร์ดแวร์ใดที่สามารถคำนวณตามกฎได้ ไม่ว่าชิป เฟือง ปากกา หรือสมอง ก็สามารถรันซิมูเลชั่นได้
    2. ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์...

Continue reading →


ไปซ้อมเล่นตรงนู้นนะ

นี่คือการจัดอันดับของโปรแกรมหมากรุกที่เก่งที่สุดในโลก ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560

ข่าวใหญ่สมัยพวกเรายังเด็ก คือโปรแกรม Deep Blue โค่นแชมป์โลก Garry Kasparov สำเร็จใน พ.ศ. 2540 นับจากนั้น โปรแกรมหมากรุกก็พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ตามกฎของมัวร์ จนกลายมาเป็นการจัดอันดับนี้ ทุกโปรแกรมในนี้เป็นการผสานระหว่างสุดยอดภูมิปัญญามนุษย์ กับศักยภาพในการคำนวณของคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถอ่านหมากล่วงหน้าถึง 70,000,000 ตา/วินาที โปรแกรมเหล่านี้เล่นโดยไม่มีข้อผิดพลาด เฉือนกันที่ CPU โดยโปรแกรมแชมป์ชื่อ Stockfish เขียนด้วยภาษา Assembly เพื่อให้ทำงานเร็วที่สุด

วันหนึ่งบริษัทวิจัยชื่อ DeepMind เจ้าของโปรแกรมหมากล้อม AlphaGo ที่เอาชนะแชมป์โลกมาเมื่อไม่กี่เดือนก่อน ก็สร้างโปรแกรม AlphaZero ซึ่งเป็นผ้าขาว สามารถเรียนรู้เกมอะไรก็ได้ และได้สอนกฎการแพ้ชนะของหมากรุกโดยไม่ได้บอกวิธีเล่น วิธีการสอนแบบนี้เรียกว่าให้ไปแค่ first principles

AlphaZero ฝึกซ้อมกับตัวเองอยู่ 4 ชั่วโมง ยังไม่ได้รับการฝึกกับคู่แข่งอื่นเลย...

Continue reading →


ดีไซน์แบบประชานิยม และความเรื่องมากของคนส่วนน้อย

CEO ของบริษัทแห่งหนึ่ง เล่าให้ผมฟังว่าเขาเคยทำปุ่ม menu ในแอปมือถือเป็นไอคอน hamburger (ที่มีลักษณะเป็นขีดแนวนอน 3 ขีด) ซึ่งเป็นไปตาม guideline และ trend ของการทำแอปในขณะนั้น

แต่เมื่อทดลอง A/B testing เทียบกับการเขียนโต้งๆ ว่า “เมนู” ปรากฏว่าคำว่าเมนูชนะ มีคนกดเยอะกว่า แอปของเขาก็เลยมีปุ่ม “เมนู” แทนที่ hamburger menu ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ต้นเดือนที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนกับพี่แบงค์ กูรูผู้ก่อตั้ง UX Academy จึงได้ถามคำถามคาใจว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้อง ระหว่างการใช้ hamburger menu ซึ่งเป็นภาษาสากลตามสมัยนิยม กับการใช้คำว่า “เมนู” ซึ่งผลทดสอบบ่งชี้ว่าคนไทยเข้าใจมากกว่า

พี่แบงค์ใช้เวลาคิดเพียง 1 วินาที ก่อนจะตอบว่า “ผมทำแอปเพื่อผู้ใช้ ไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง”

“แต่ไอคอนที่มันเป็นสากล และเป็น trend ในแอประดับ AAA อยู่แล้ว ซักวันนึง user ส่วนใหญ่ก็จะเข้าใจไม่ใช่เหรอพี่” ผมยังไม่ยอมแพ้

“เราทำให้ user ในวันนี้หรือวันหน้าใช้ล่ะ”

Hamburger by Edward Franklin


ผมหมดคำตอบที่จะเถียง แต่ความตะขิดตะขวงใจก็ยังไม่ทุเลาลง...

Continue reading →


3.14159265359

มีคอนเซปต์ทางวิทยาศาสตร์อันหนึ่งชื่อ Multiple Discovery ซึ่งกล่าวไว้ว่า มันเป็นปกติที่การค้นพบทางวิทยาศาสตร์เรื่องเดียวกัน จะเกิดขึ้นหลายครั้ง ในคนละที่และเวลา

ต่อให้วันหนึ่งอารยธรรมของมนุษยชาติหายไปพร้อมกับภูมิความรู้ทั้งหมด ในอีก 1,000 ปี สังคมแบบใหม่ก็จะเกิดขึ้นมา เราจะไม่มีภาษาจีนหรือภาษาจาวา ไม่มีราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ไม่มีเสาวรจนี นารีปราโมทย์ เราจะมีค่านิยมของความดี ความงาม ตลอดจนมุกตลกที่แตกต่างไปจนจดจำไม่ได้

แต่เราจะค้นพบตารางธาตุ ทฤษฎีวิวัฒนาการ และสมการแม่เหล็กไฟฟ้าของแม็กซ์เวลล์ใหม่อีกครั้งแน่นอน วิทยาศาสตร์จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง1 เพราะมันคือเส้นใยที่ถักทอขึ้นเป็นจักรวาลของเรา

ที่น่าทึ่งกว่าคือ หากวันหนึ่งจักรวาลนี้หายไปด้วย และถูกแทนที่ด้วยจักรวาลใหม่ซึ่งมีคุณสมบัติไม่เหมือนเดิม ทั้งความเร็วของแสง จุดเดือดของน้ำ ค่าคงที่ของ Planck จะต้องถูกค้นพบใหม่ ดวงดาวและสรรพชีวิตจะมีลักษณะแตกต่างออกไปจนเราสิ้นคำศัพท์ที่จะใช้บรรยาย

ถึงกระนั้น เราก็ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าของ π ได้...

Continue reading →