วิศวกร

เรื่องนี้ตลกดี ผมเคยนึกว่าทุกคนคิดแบบนี้ แต่ไม่, กระบวนการคิดแบบนี้คือ mindset ของวิศวกร: เราจะแยกส่วนปัญหาออกเป็นกล่องเล็กๆ แล้วสร้างแผนที่ว่ากล่องเหล่านั้นเชื่อมกันยังไงบ้าง, บางกล่องเรามีประสบการณ์อยู่แล้ว แต่บางกล่องยังไม่รู้จักดี เราก็จะประเมินผลกระทบว่ามันเป็นกล่องที่สำคัญแค่ไหน, ถ้ายังประเมินไม่ได้ เราก็จะประเมินขอบเขตของความไม่แน่นอนนั้น, เพื่อหาว่า ด้วยทรัพยากรที่เรามี เราทำอะไรได้บ้างเพื่อสร้างผลลัพท์ที่เราต้องการ และลดโอกาสของความล้มเหลวให้ต่ำที่สุด ในสภาพแวดล้อมที่เราไม่อาจเข้าใจทุกอย่าง

องค์ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ทั้งหมดตั้งอยู่บนระบบความคิดนี้ ไม่ว่าคุณจะออกแบบเฟือง เกียร์ เครน เหมือง สะพาน อุโมงค์ หม้อแปลง หุ่นยนต์ ไมโครชิป วัสดุ ระบบสายพาน ซอฟต์แวร์

มานั่งดูว่ามีสาขาวิชาอื่นไหมที่ใช้ mindset แบบเดียวกัน ก็นึกได้อันนึงคือแพทย์ หมอมีโจทย์คล้ายกับวิศวกร คือไม่ได้เข้าใจทุกส่วน ต้องประเมินจากอาการ อาการยังไม่ชัดก็ต้องตรวจสอบเพิ่ม แล้วก็ต้องใช้ heuristics เพื่อควบคุมและขจัดปัญหา โดยสร้างผลกระทบน้อยที่สุด อันที่จริงคอนเซปต์ทางมหกายวิภาคก็แปลเป็นคอนเซปต์ทางวิศวกรรมได้ตรงตัว ร่างกายเป็นเครื่องจักร สมองเป็นศูนย์สั่งการ หัวใจเป็นปั๊ม มีข้อต่อ-คาน มีความคงทน-ความยืดหยุ่น

ทีนี้ ผมเลยไม่รู้ว่ากระบวนการคิดของสายอื่นเป็นยังไงกันบ้าง? ผมรู้จักวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ เพราะเราเรียนกันตอนมัธยม (ในทางกลับกัน นักวิทยาศาสตร์ก็ต้องคิดแบบวิศวกรเป็น เวลาออกแบบการทดลอง) แต่นอกจากนั้น ในโรงเรียนบริหารธุรกิจ หรือโรงเรียนมัณฑนศิลป์ เขาสอนระบบความคิดแบบไหนให้เหรอครับ?

 
0
Kudos
 
0
Kudos

Now read this

อย่าไว้ใจเรา

ในสมรภูมิระหวาง Google และ Apple มีแนวปะทะหนึงทีผมรูสึกวาคนยังไมคอยพูดถึง คือประเดนความเปนสวนตัว ปรัชญาของ Google ดูจะเปน “ไวใจเราไดนะ เรามีชือเสียงตองรักษา” สวน Apple เปน “อยาไวใจใครแมแตเรา” ทำให Apple ไมยอมเกบขอมูลลูกคาหลายอยางบน cloud... Continue →